×

x

ตระเวนเที่ยวร้านเก่าแก่ในเมืองแห่งศาลเจ้า

ชิโอะกามะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะประตูสู่ทะเลตั้งแต่มีการตั้งรัฐบาลที่ปราสาททากะ และในฐานะเมืองแห่งศาลเจ้าชิโอะกามะตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ตอนต้น เชิญมาตระเวนเที่ยวร้านต่าง ๆ ที่สืบทอดประวัติศาสตร์นั้นมา พร้อมสัมผัสกับห้วงเวลาที่สั่งสมไว้ในเมืองแห่งศาลเจ้าเล็ก ๆ ในโทโฮคุ

ใช้เวลา 90 นาที
รวมเวลาเข้าชม
Information center
5 นาที
1. Ota Yohachiro syoten
3 นาที
2. Tanrokuen
10 นาที
3. Abekan Syuzoten
5 นาที
4. Ogiwara Jozo
15 นาที
5. Shiwahiko-Jinja・Shiogama-Jinja
15 นาที
6. Urakasumi Sake-gallery
7 นาที
Information center

1. Ota Yohachiro syoten

เดิมทีเจ้าของทำธุรกิจที่พักแต่เห็นโอกาสเลยเปิดกิจการผลิตและจำหน่ายมิโสะและโชยุขึ้น ก่อตั้งในปี 1845 ช่วงปลายยุคเอโดะและยังคงสืบทอดรสชาติดั้งเดิมนั้นมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่เปลี่ยนแปลง
ขอแนะนำมิโสะ “คุระอิจิบัง” และ “ดาชิโชยุ” โรงงานที่สร้างในปี 1924 ด้วยสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นที่ล้ำสมัยในยุคนั้น และบ้านที่เป็นร้านในตัวซึ่งสร้างโดยไม่ใช้ตะปูในปี 1929 ได้รับ “รางวัลทัศนียภาพและวัฒนธรรมเมืองชิโอะกามะ” ด้วย

2. Tanrokuen

ร้านบรรยากาศเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูศาลเจ้าชิโอะกามะ
นอกจากจะมีจำหน่ายชาและอุปกรณ์ชงชาแล้ว ยังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้ผลิตขนมชื่อดัง “ชิโอะกามะ”
ก่อตั้งขึ้นในปี 1720 ช่วงกลางยุคเอโดะ เดิมเป็นร้านสำหรับให้บริการผู้เดินเรือ แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลามาเป็นจำหน่ายชาในปัจจุบัน ขนม “ชิโอะกามะ” เป็นขนมจากชาที่จำหน่ายในชิโอะกามะ เมืองแห่งศาลเจ้าที่มีผู้คนมาเยือนไม่ขาดสาย มีบันทึกระบุว่า สึนามุระ ผู้ปกครองแคว้นเซ็นไดรุ่นที่สี่ก็ได้มารับประทานด้วย

3. Abekan Syuzoten

ก่อตั้งปี 1716 ช่วงกลางยุคเอโดะ
เป็นโรงเหล้าที่มีประวัติยาวนาน ผลิตเหล้าที่ชิโอะกามะแห่งนี้มาตลอดกว่า 300 ปี ประธานบริษัทคนปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 14 แล้ว และเนื่องจากเป็นโรงเหล้าที่ก่อตั้งขึ้นมาเป็นร้านเหล้าสำหรับถวายศาลเจ้าชิโอะกามะ ปัจจุบันก็ยังคงถวายเหล้าในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี
ใช้ข้าวของจังหวัดมิยากิเป็นหลักและผลิตภายใต้คอนเซ็ปต์ “เหล้าที่เข้ากับปลา” ส่วนมากจะถูกบริโภคในจังหวัดมิยากิและในเมืองชิโอะกามะ จึงขอเชิญใช้โอกาสนี้ในการชิมเหล้าของที่นี่ในร้านอาหารภายในเมือง

4. Ogiwara Jozo

โอกิวาระโจโซ ผู้ผลิตมิโสะและโชยุที่มีถังหมักขนาดใหญ่ตั้งเป็นสัญลักษณ์อยู่หน้าร้าน
ก่อตั้งขึ้นในปี 1887 ว่ากันว่าตัวบ้านสร้างขึ้นในช่วงปลายยุคเอโดะ ซึ่งก็ได้ผ่านมากว่า 160 ปีแล้ว ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
สินค้าที่แนะนำมากที่สุดคือ “คิอะเกะโชยุ” เป็นโชยุอันล้ำค่าที่ผลิตโดยใช้น้ำที่คั้นมาจากโมโรมิทั้งแบบนั้น ไม่ใส่สารปรุงแต่งและไม่เจือจาง สามารถมาพักผ่อนได้กับ “ทามะคอน” ที่มีจำหน่ายอยู่หน้าร้านและสามารถชิมรสอร่อยที่ทางร้านภาคภูมิใจได้ง่าย ๆ ด้วย

5. Shiwahiko-Jinja・Shiogama-Jinja

ศาลเจ้าชิโอะกามะที่เป็น “ศาลเจ้าอันดับหนึ่งผู้คุ้มครองและปกปักษ์รักษาโอชู” และศาลเจ้าชิวะฮิโคะได้ปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารโบราณที่เรียกว่า “เอ็นกิชิคิ” โดยทั้งสองศาลเจ้าตั้งอยู่ในภูเขาอิจิโมริยามะ ซึ่งเมื่อมองมาจากทางอ่าวมัตสึชิมะจะมีลักษณะคล้ายอักษรเลขหนึ่งของภาษาญี่ปุ่นซึ่งอ่านว่า “อิจิ” ทำให้ มาซามูเนะ ดาเตะ ผู้ปกครองแคว้นเซ็นไดรุ่นแรกจึงตั้งชื่อภูเขานี้ไว้เช่นนี้
สิ่งปลูกสร้าง เช่น วิหารหลักและอาคารสำหรับสักการะบูชา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ และยังมีปลูกพืชนานาพันธุ์ อาทิ “ชิโอะกามะซากุระ” ที่เป็นอนุสรณ์ทางธรรมชาติด้วย มีสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้มาสักการะชมตลอดทั้งสี่ฤดู

6. Urakasumi Sake-gallery

โรงเหล้าของ “อุระคาสุมิ” ที่ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงในจังหวัดมิยากิ แต่เป็นหนึ่งในเหล้าท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1724 และผลิตเหล้าในชิโอะกามะในฐานะร้านเหล้าเพื่อถวายศาลเจ้าชิโอะกามะเรื่อยมา
ชื่อ “อุระคาสุมิ” มาจากส่วนหนึ่งของเนื้อกลอนที่ มินาโมโตะ โนะ ซาเนะโทโมะ โชกุนรุ่นที่สามของรัฐบาลคามาคุระขับร้อง เมื่อส่งเหล้าไปถวายว่าที่จักรพรรดิโชวะในยุคไทโช โดยมีใจความว่า “ที่อ่าวชิโอะกามะ มีลมพัดผ่านช่องระหว่างต้นมัตสึ มีหมอกแห่งฤดูใบไม้ผลิปกคลุมเหล่าเกาะน้อยใหญ่ในทะเล วันนี้พื้นที่บริเวณนี้น่าจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอย่างเต็มตัวแล้ว”

เต็มอิ่มกับผลผลิตจากทะเลสด ๆ ที่ตลาดค้าส่ง!

“ตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์ประมงชิโอะกามะ” หนึ่งในสถานที่ที่ห้ามพลาดเมื่อมาเยือนชิโอะกามะ นอกจากผลผลิตจากทะเลสด ๆ แล้ว ยังมีวัตถุดิบทำอาหารที่หลากหลาย ทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทาเกลือตากแห้ง ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง ของแห้ง ของหายาก ฯลฯ ในร้านค้าที่คึกคักถึง 115 ร้าน เป็นตลาดที่มืออาชีพก็มาซื้อ ซึ่งสามารถเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งได้ แล้วยังสามารถลิ้มรสความอร่อยของ “My ข้าวหน้าปลาดิบ” ที่ซื้อวัตถุดิบที่ชอบแล้วนำมาทำรับประทานเองได้ด้วย!!
มาเต็มอิ่มกับผลผลิตจากท้องทะเลที่ชิโอะกามะกัน

วิธีทำ My ข้าวหน้าปลาดิบ


1.วนหาวัตถุดิบที่ชอบในตลาด

  • ไปให้ทั่วทุกมุมของตลาดกัน!
    … วัตถุดิบทำอาหารแปลก ๆ จำนวนมาก ☆
  • เพียงบอกคนที่ร้านว่าอยากทำข้าวหน้าปลาดิบ!
    … ทางร้านจะแนะนำสินค้า แล้วทำให้สามารถรับประทานได้ทันที
    *หากมีลูกค้าจำนวนมากอาจไม่สามารถให้บริการได้ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
  • พยายามแบ่งกันให้ได้จำนวนคนมากที่สุด!
    … วัตถุดิบหลายอย่างจำหน่ายในราคาถูก

2.เมื่อได้ครบตามต้องการแล้วก็ไปที่่จุดพัก เตรียมตัวตักใส่!!

  • ซื้อชุดข้าวได้ที่ 400 เยน!

เวลาให้บริการ My ข้าวหน้าปลาดิบ:
วันธรรมดา 6:30 - 12:00 น.
วันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 6:30 - 13:00 น.
หยุดวันพุธ
*หยุดจำหน่ายเมื่อข้าวหมด

3.ผ่าง! เสร็จสมบูรณ์ รับประทานอย่างสนุกสนานกัน

สามารถทำข้าวหน้าปลาดิบที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงได้ด้วยวัตถุดิบต่าง ๆ และวิธีจัดวาง
เชิญเพลิดเพลินกับข้าวหน้าปลาดิบแบบเฉพาะของตัวคุณเอง!

ชิโอะกามะ ดินแดนที่บะโชเคยมาเยือน

บะโช มัตสึโอะ เป็นหนึ่งในกวีที่โด่งดังที่สุดในญี่ปุ่น เขาได้พาลูกศิษย์ชื่อ โซระ เดินทางจากฟุคะกาวะในเอโดะ ผ่านโทโฮคุและโฮคุริคุ ไปจนถึงโอกาคิในกิฟุ แล้วเขียนเป็นบันทึกการเดินทางชื่อดัง “โอคุโนะโฮโสะมิจิ” ขึ้นมา
หากได้มาเดินที่ชิโอะกามะในเส้นทางเดียวกับบะโช คุณก็จะได้เห็นทัศนียภาพของชิโอะกามะอันงดงามเช่นเดียวกับที่เขาเห็น

ใช้เวลา 100 นาที
รวมเวลาเข้าชม
Information center
10 นาที
1. Okama-Jinja
10 นาที
2. Basyo Shisyuku spot
20 นาที
3. Bunji-no-shinto
15 นาที
4. Oku-no-Hosomichi Sekihi
5 นาที
5. Basyo Funade spot
10 นาที
6. Shiogama port
10 นาที
Information center

เส้นทางที่บะโชเคยเดินผ่านจริง
(เขาใช้เวลา 2 วันในการเดินผ่านชิโอะกามะ)

June 24, 1689.

Okama-Jinja
Noda-no-Tamagawa
Sue-no-Matsuyama
inn Jihei

June 25, 1689.

inn Jihei
Shiogama-Jinja
Basyo Funade spot

1. Okama-Jinja

ศาลเจ้าย่อยมัชชะของศาลเจ้าชิโอะกามะ บูชาเทพชิโฮะสึจิโอะจิโนะคามิเป็นเทพประจำศาลเจ้าเช่นเดียวกับศาลเจ้าย่อยเบ็ตสึกูของศาลเจ้าชิโอะกามะ
มี “หม้อชินคามะ” 4 ใบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพื้นที่นี้ “ชิโอะกามะ” ว่ากันว่าเป็นหม้อ (คามะ) ที่เทพชิโฮะสึจิโอะจิโนะคามิใช้สอนวิธีทำเกลือ (ชิโอะ) ให้แก่ผู้คน
และในเดือนกรกฎาคมของทุกปีศาลเจ้าแห่งนี้จะจัด “พิธีโมะชิโอะยาคิ” ซึ่งเป็นการสืบทอดกรรมวิธีทำเกลือแบบโบราณที่หาดูได้ยากแม้ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม

บะโชได้เดินทางออกจากเซ็นไดและมาถึงชิโอะกามะเวลาประมาณ 14:00 น. ของวันที่ 24 มิถุนายน 1689 หลังรับประทานอาหาร ก็ได้มาที่ศาลเจ้าโอะคามะแห่งนี้ มาดูหม้อชินคามะที่ว่ากันว่าบะโชก็มาดูกัน! (ค่าเข้าชม 100 เยน)
[มีแท่นอนุสรณ์ 300ปี โอคุโนะโฮโสะมิจิ]

2. Basyo Shisyuku "inn Jihei"

สถานที่ที่เชื่อว่าเคยมี “จิเฮเอะ” ที่บะโชและโซระเคยมาเข้าพัก เดิมในบริเวณนี้จะมี “วัดโฮเร็นจิ” วัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลศาลเจ้าชิโอะกามะอยู่ แต่ถูกละทิ้งในยุคปฏิรูปเมจิและโดนรื้อออกจนหมดเหลือแต่เพียง “โชกะโร” ที่เคยเป็นห้องหนังสือเท่านั้น

หลังมาเยือนศาลเจ้าโอะคามะ พวกบะโชได้ไปยังที่ที่ปรากฏในบทกลอน เช่น แม่น้ำโนะดะโนะทามะกาวะ สึเอะโนะมัตสึยามะ ฯลฯ แล้วไปเข้าพักที่ “จิเฮเอะ” ซึ่งเป็นที่พักตั้งอยู่หน้าวัดโฮเร็นจิ
“โชกะโร” ตั้งอยู่ใกล้กับที่พักมาก จึงว่ากันว่าบะโชก็ได้เห็นมันเหมือนกัน
[มีแท่นอนุสรณ์ 300ปี โอคุโนะโฮโสะมิจิ]

3. Shiogama-Jinja "Bunji-no-Shinto"

ทะดะฮิระ ลูกชายคนที่สามของ ฟุจิวาระ โนะ ฮิเดะฮิระ รุ่นที่สามของตระกูลโอชูฟุจิวาระ สร้างถวายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1187 การกระทำของเขาได้สร้างความประทับใจแก่ผู้คนจำนวนมาก รวมถึง บะโช มัตสึโอะ ที่ได้กล่าวชื่นชมเขาไว้ใน “โอคุโนะโฮโสะมิจิ” ว่าเป็น “นักรบที่มีเกียรติ”
โคมไฟนี้ ทะดะฮิระ สร้างขึ้นเพื่อเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะปกป้อง โยชิสึเนะ ตามความปรารถนาของ ฮิเดะฮิระ บิดาของเขา แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตของตัวเองก็ตาม

บะโชมาสักการะศาลเจ้าชิโอะกามะในเช้าที่อากาศแจ่มใสของวันที่ 25 มิถุนายน 1689 ซึ่งได้มาพบกับโคมไฟนี้และรู้สึกประทับใจอย่างมาก
[มีแท่นอนุสรณ์ 300ปี โอคุโนะโฮโสะมิจิ]

4. Oku-no-Hosomichi Sekihi

แท่นหินที่ตั้งอยู่ริมถนนสายหลัก “ชิโอะกาเมะไคโด” ได้คัดเอาบางส่วนของ “โอคุโนะโฮโสะมิจิ” บันทึกการเดินทางของบะโชมาแกะสลักเอาไว้ด้วย

5. Basyo Funade spot

สถานที่ที่บะโชขึ้นเรือออกเดินทางไปเกาะมัตสึชิมะ ปัจจุบันเป็นบริเวณ “ร้านโอตะโยฮาจิโร่” ร้านเก่าแก่ของชิโอะกามะ
ในอดีตบริเวณนี้เป็นแนวชายฝั่ง แต่ได้มีการถมทะเลในช่วงปี 1955 - 1964 ปัจจุบัน “จุดออกเรือของบะโช” จึงอยู่ห่างจากแนวชายฝั่งประมาณ 500 เมตร

ในวันที่ 25 มิถุนายน 1689 หลังจากพวกบะโชสักการะศาลเจ้าชิโอะกามะเสร็จแล้ว ช่วงใกล้เที่ยงก็ได้เช่าเรือออกเดินทางไปยังเกาะมัตสึชิมะ
[มีแท่นอนุสรณ์ 300ปี โอคุโนะโฮโสะมิจิ]

6. Shiogama port

มาลองชมอ่าวชิโอะกามะ (ชิกะโนะอุระ) ที่บะโชเคยชมกัน
หากนั่งเรือท่องเที่ยวหรือเรือโดยสารของเมือง ก็จะเห็นเกาะมากาคิกาชิมะอยู่ทางซ้ายทันที
ว่ากันว่าบะโชก็ประทับใจกับทัศนียภาพนั้นอย่างมาก

หลังจากออกเดินทางสู่อ่าวชิโอะกามะ พวกบะโชก็ได้ชมเกาะมากาคิกาชิมะ เกาะไดริจิมะ เกาะมิยาโคะจิมะ เกาะโยโรอิจิมะ เกาะไซโจจิมะ ฯลฯ ในระยะใกล้ จนไปถึงจุดจอดเรือที่เกาะมัตสึชิมะ ซึ่งได้บันทึกเอาไว้ว่าเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

Magaki-ga-shima

เกาะขนาดเล็กที่มีเส้นรอบวงเพียงประมาณ 155 เมตร เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณจนปรากฏชื่ออยู่ในบทกลอน
มีศาลเจ้ามากาคิ 1 ใน 14 ศาลเจ้าย่อยมัชชะของศาลเจ้าชิโอะกามะ บะโชก็ได้เดินทางผ่านไปโดยรู้สึกประทับใจอย่างมาก
*ทั้งนี้ สะพานข้ามมายังเกาะนี้ปกติจะล็อกกุญแจเอาไว้ และจะเปิดให้ข้ามได้เฉพาะเทศกาลประจำปีในวันที่ 1 สิงหาคมและเทศกาลประจำเดือนในทุกวันที่ 1 ของเดือนเท่านั้น

การตามหาที่มาของเกลือของบะโช

ศาลเจ้าที่เป็นต้นกำเนิดของศาลเจ้าชิโอะกาเมะที่มีสาขากว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และเป็นศาลเจ้าที่บูชาเทพเจ้าผู้สร้าง “เกลือ” ที่ขาดไม่ได้ในการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งต่างจากศาลเจ้าอื่นที่ส่วนมากจะบูชาผู้บริหารประเทศหรือนักรบ เชิญมาชมอีกหนึ่งมุมของชิโอะกามะ เมืองท่าที่เชื่อมกับทะเลที่ใช้ผลิตเกลือมาตั้งแต่อดีต

ใช้เวลา 90 นาที
รวมเวลาเข้าชม
Information center
30 นาที
1. Shiogama-Jinja Betsu-gu
5 นาที
2. Shiogama-Jinja museum
15 นาที
3. Okama-Jinja
10 นาที
Information Center

ไม่ใช่เพียงตำนานของเทพผู้สร้างเท่านั้น แต่ที่นี่ยังทำกิจการผลิตเกลือกันอย่างรุ่งเรืองมาแต่โบราณด้วย
“โมะชิโอะ” เป็นกรรมวิธีผลิตเกลือแบบโบราณ โดยจะใช้น้ำทะเลผ่านสาหร่ายฮอนดะวาระ นำไปต้มและตักน้ำด่าง ฯลฯ ออกอย่างประณีต ได้เป็นเกลือที่มีสัมผัสกลมกล่อมและมีรสอร่อยของแร่ธาตุนานาชนิด
“พิธีโมะชิโอะยาคิ” ของศาลเจ้าโอะคามะที่เป็นศาลเจ้าย่อยมัชชะนอกพื้นที่ของศาลเจ้าชิโอะกามะ เป็นการทำ “โมะชิโอะ” ตามกรรมวิธีโบราณที่จะใช้เวลาถึง 3 วัน แล้วนำไปถวายศาลเจ้าชิโอะกามะ
และเกลือที่ได้จากกรรมวิธีของ “พิธีโมะชิโอะยากิ” ก็คือ “เกลือโมะชิโอะของชิโอะกามะ”
สามารถหาซื้อ “เกลือโมะชิโอะของชิโอะกามะ” ได้ในร้านค้าส่วนมากในเมืองชิโอะกามะ
นอกจากนี้ ร้านขนมภายในเมืองชิโอะกามะยังมีจำหน่ายของหวานต่าง ๆ นานาที่ใช้เกลือโมะชิโอะด้วย เดินรับประทานขนมที่ได้รสแปลกไป “มีเค็มนำหวาน” ก็สนุกไปอีกแบบ!!

1. Shiogama-Jinja Betsu-gu

เมื่อลอดประตูคารามงเข้ามาก็จะพบกับอาคารสำหรับสักการะบูชาของศาลเจ้าขวาอุกูและศาลเจ้าซ้ายสะกู ด้านขวาของอาคารสักการะจะมีศาลเจ้าย่อยเบ็ตสึกู ซึ่งสักการะบูชา “เทพชิโฮะสึจิโอะจิโนะคามิ” อยู่
ว่ากันว่าเทพชิโฮะสึจิโอะจิโนะคามิเป็นผู้เชิญเทพฟุสึนุชิโนะคามิและเทพทาเคมิคะสึจิโนะคามิมายังที่แห่งนี้ (อยู่ศาลเจ้าขวาและซ้ายที่ละองค์) และหลังจากนั้นก็ประทับอยู่ที่นี่และสอนวิธีทำประมงและผลิตเกลือให้ผู้คนท้องถิ่น
จึงได้รับความเคารพจากชาวบ้านมาแต่โบราณ ในฐานะเทพแห่งเกลือและเทพผู้คุ้มครองการคลอดบุตร

2. Shiogama-Jinja museum

จัดแสดงสมบัติของศาลเจ้าชิโอะกามะเป็นหลัก อีกทั้งมีของต่าง ๆ ที่ตระกูลดาเตะนำมาถวาย ผลงานของศิลปินต่าง ๆ ที่มาสักการะศาลเจ้าชิโอะกามะ มิโคชิอันหรูหรางดงามที่ใช้ในงานเทศกาลโฮะเทะและเทศกาลมินาโตะ ฯลฯ
ชั้น 2 มีสิ่งของเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกลือที่ผูกพันกับเทพเจ้าประจำศาลเจ้าอย่างลึกซึ้ง และมีวีดิทัศน์แสดงภาพบรรยากาศ “พิธีโมะชิโอะยาคิ” ที่จำลองวิธีผลิตเกลือแบบโบราณ
นอกจากนี้ จากจุดชมวิวบนดาดฟ้ายังสามารถชมทิวทัศน์ของอ่าวเซ็นได เช่น เกาะมัตสึชิมะ ฯลฯ ได้ด้วย
*ค่าเข้า ผู้ใหญ่ 200 เยน
(นิทรรศการพิเศษมีค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก)

3. Okama-Jinja

มีหม้อชินคามะที่ใช้ในการทำเกลือในสมัยโบราณ แล้วเป็นที่มาของชื่อ “ชิโอะกามะ” ของที่นี่ด้วย
น้ำที่อยู่ด้านในจะไม่ล้นออกมาหรือแห้งหายไป และว่ากันว่าสีของน้ำจะเปลี่ยนไปเมื่อเกิดเหตุร้ายกับพื้นที่นี้ จึงเป็นหนึ่งใน “สามของแปลกของญี่ปุ่น” ร่วมกับ “หอสมบัติหิน” ของศาลเจ้าโอชิโคะ จังหวัดเฮียวโกะ และ “อะเมะโนะซาคะโฮโคะ” ของศาลเจ้าคิริชิมะฮิกาชิ จังหวัดมิยาซาคิ
จัด “พิธีโมะชิโอะยาคิ” ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม ของทุกปี
*ค่าเข้าสักการะหม้อชินคามะ 100 เยน